เป้าหมายหลัก

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิ่งที่ได้เห็น 5/8/2557

วันที่  5/8/2557
เวลาเช้า เข้าสังเกตวิธีตอนเข้าแถวหน้าเสาธงชาติ เด็กที่มาสายวิธีการแก้ปัญหาของครูเวรคือ ให้เด็กบอกเหตุผลที่ตัวเองมาสายให้ครูเวรฟัง
เข้าสังเกต วิถีและสังเกตจิตศึกษา การสอนของครูภร (ป.5) ทำการสอนโดย นำ แจกกระดาษA4 เปล่าๆ ให้นักเรียนแต่ละคน
  
1.ครูภรให้เด็กนั่งเป็นวงกลม
  
2.การเก็บเด็ก ขอบคุณตามด้วยชื่อ  แล้วพานับ 1-10 เป็นภาษาอังกฤษ
  
3.นำเข้าสู่กิจกรรมโดยการเล่าเรื่อง หอยทาก
         คล้ายกับอะไร
  
3.จากนั้นก็แจกกระดาษA4 โดยเวียนทั้งซ้ายและขวามือ นักเรียนส่งกระดาษให้กัน และมีการไหว้ขอบคุณเพื่อนที่ส่งกระดาษให้
  
4.ครูภรยิงคำถามปลายเปิด(เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่)
       
- เขียนอะไรก็ได้ที่สื่อถึงตัวเอง
       
- หรือวาดรูปแทนตัวเองก็ได้
    
5.จากนั้นก็ให้เด็กลงมือ ตามข้อ 4  แล้ว
     
6.ครูภรให้นักเรียนส่งกระดาษของตัวเองไปทางขวามือให้เพื่อนและให้เพื่อนเขียนให้กำลังใจเพื่อนๆประมาณ 5 นาที วงขวามือไปเรื่อยๆ
 
   7.แล้วครูภรก็ให้สัญญาณหยุดกับเด็กนักเรียน แล้วให้นักเรียนนำกระดาษของตัวเองไปเก็บไว้
 


เข้าห้องประชุม
มีการพูดแลกเปลี่ยนหลังจากที่เราได้ไปสังเกตมาว่า มีความคิดเห็นเป็นอย่างไร เกี่ยวกับการเข้าไปดู ห้อง ป.2 และห้อง ป.5 วิธีเก็บเด็ก  คำถามกระตุ้นเด็ก 
จุดประสงค์ของการสอน
       ป.
การมีสมาธิจดจอกับงานที่ทำ
       ป.5  เห็นคุณค่าของเพื่อน
ช่วงเวลาบ่าย

  สังเกตการณ์สร้างแรงบันดาลใจ
PBL ป.3
 การทำบอดี้สแกน
  
1.ได้เห็นการจัดวงกลมของครูโดยครูจะขยับถอยหลัง เพื่อที่จะให้นักเรียนขยับตาม
  
2.ครูให้นักเรียนนอนเป็นปลาดาว  หายใจเข้า...ลึก    หายใจออก...สบาย
  
3.เทคนิคการปลุกเด็กของครูป.3 เด็กที่ยังไม่ตื่นนอน ครูเดินไปปลุกโดยเอามือไปแตะที่หน้าอก แล้วขยับเบาๆ ให้เด็กตื่น
 
4.เทคนิคการเตรียมความพร้อม เอามือทั้งสองข้างประสานกัน ดันไปข้างหน้า  ยกขึ้นข้างบน ไปทางซ้าย    และไปทางขวา แล้วครูให้กำลังใจนักเรียนเยี่ยมมาก
วิธีการเก็บเด็ก
     แสดงท่าพร้อม
การสอน 
PBL

    1.ครูแจกกระดาษA4 ให้นักเรียน พับครึ่ง แล้วเขียน สิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ อย่างละ 10 ข้อ พร้อมกำหนดเวลา
จุดประสงค์
  นักเรียนอยากเรียนอะไรใน
Quarter นี้

สิ่งที่จะนำไปใช้ที่โรงเรียน
  
1.นำวิธีการสร้างแรงบันดาลใจมากระตุ้นเด็กนักเรียนให้คิดว่าอยากเรียนอะไร
  
3.ยิงคำถามตลอดเวลาเพื่อให้เด็กฝึกคิดและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
   4.ปล่อยให้เด็กได้แสดงความคิดให้มากขึ้นและ
                                                                                    มีอิสระเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น